ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

เทคนิคเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง

เทคนิคเรียนคณิตศาสตร์ให้เก่ง




วิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ต้องอาศัยความเข้าใจและขยันทําแบบฝึกหัด หาก พยายามทําความเข้าใจสาระสําคัญของเนื้อหาแต่ละบทในหนังสือเรียน และจดสิ่งที่ ไม่เข้าใจไว้ค้นคว้าหรือถามผู้รู้ต่อไป รวมทั้งต้องขยันทําแบบฝึกหัดท้ายบทหลาย ๆ รอบ และหาโจทย์แปลกใหม่มาลองทําบ่อย ๆ ก็จะทําให้เก่งคณิตศาสตร์ได้ไม่ยาก 

นักเรียน ส่วนใหญ่มักทําความเข้าใจเนื้อหาเพียงคร่าว ๆ ไม่มีการทบทวนหรือฝึกทําแบบฝึกหัด จึงทําแบบฝึกหัดไม่ได้หรือทําผิดบ่อย ๆ สุดท้ายก็เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายและไม่อยาก เรียนอีกต่อไป การเรียนแบบนี้จะไม่มีวันเก่งคณิตศาสตร์เป็นอันขาด 

ฉะนั้นเมื่อทํา แบบฝึกหัดผิดตรงไหนและผิดอย่างไร นอกจากนี้ยังต้องวิเคราะห์โจทย์ให้ได้ก่อน เพราะเมื่อเจอโจทย์ลักษณะคล้ายกันก็จะทําได้ การเรียนวิชาคณิตศาสตร์ควรเริ่มต้นจากหนังสือเรียน ไม่ว่าเนื้อหาจะยาก แค่ไหน ต้องอ่านทบทวนหลาย ๆ รอบ ควรให้ความสําคัญทั้งหนังสือเรียนและหนังสือคู่มือ นอกจากนี้ควรมีสมุดสําหรับจดขั้นตอนการคํานวณด้วย ถ้าคํานวณผิด ทําซ้ําอีกหลาย ๆ รอบจนกว่าจะทําได้ เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับโจทย์ ซึ่งจะ การเรียนวิชาคณิต ทําให้เรากลายเป็นคนเก่งคณิตศาสตร์ในที่สุด

เคล็ดลับในการเรียนและทําข้อสอบวิชาคณิตศาสตร์ 
1. วิเคราะห์ใจความสําคัญของโจทย์ให้เป็น
2. อย่าเลือกทําแบบฝึกหัดที่ยากเกินความรู้ของตน เพราะจะทําให้รู้สึกว่าคณิตศาสตร์ เป็นวิชาที่ยากและไม่อยากเรียน สําหรับคนที่ได้คะแนนอยู่ในระดับกลางหรือต่ํา ควรขยันทําแบบฝึกหัดท้ายบทในหนังสือเรียนให้ได้ก่อน แล้วค่อยหาโจทย์จาก หนังสือคู่มือมาทําเสริม 
3. หลังจากทําแบบฝึกหัดแต่ละข้อเสร็จ ให้ย้อนกลับมา ตรวจทานอีกครั้งเพื่อความถูกต้องแม่นยํา 
4. อ่านโจทย์ให้เข้าใจภายในเวลาสั้น ๆ และคํานวณ อย่างรวดเร็ว เพราะการแก้โจทย์ คณิตศาสตร์ต้องแข่งกับเวลา ดังนั้น จึงควรฝึกคิดเลขในใจ 
5.ฝึกจดวิธีคํานวณไว้อ่านทบทวนให้เป็นนิสัย 
เมื่อทำตามขั้นตอนต่างๆดังกล่าวมาข้างต้น ก็จะช่วยให้การเรียนคณิตศาสตร์ไม่ยากอย่างที่คิด

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

อยากเรียนเก่งต้องเข้าใจเนื้อหาที่เรียน


อยากเรียนเก่งต้องเข้าใจเนื้อหาที่เรียน




เข้าใจเนื้อหาที่เรียน คือสิ่งสําคัญของการเรียน หากเริ่มจากความเข้าใจการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ช่วยยกระดับชีวิตของคนให้สูงขึ้น ดังนั้นยิ่ง เรียนรู้มาก ก็จะยิ่งพัฒนาตนเองได้มาก อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับความเข้าใจและรู้วิธีค้นคว้าหาความรู้ในสิ่งที่ตนสนใจหรือถนัดด้วย 

ดังนั้น เวลาอ่านหนังสือเรียน ควรอ่านด้วยความเข้าใจ และพยายามฝึกทําแบบฝึกหัดเพื่อ ให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น รวมทั้งหมั่นค้นคว้าหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ เพื่อเพิ่มพูน ความรู้อยู่เสมอ 

นักชีววิทยาด้านสมองกล่าวว่า “สมองของมนุษย์เปรียบเสมือนหน่วยประมวล ผลกลางของเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่” ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์กล่าวว่า "เมื่อ เปรียบเทียบขนาดหน่วยความจําของคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่กับสมองมนุษย์ พบว่าคอมพิวเตอร์มีหน่วยความจําเท่ากับ 1010 บิต ส่วนมนุษย์มีหน่วยความจำประมาณ 1015 -1016 บิต” ทั้งที่สมองมนฯษย์มีหน่วยความจํามากกว่า แต่ทําไมเราถึงจ่าอะไร ไม่ค่อยได้ นั่นก็เพราะว่าเราตั้งใจจําอย่างเดียว แต่ไม่มีความเข้าใจไงล่ะ ความจำ
ต่าง ๆ ที่เกิดจากการรับข้อมูลของสมองเรา จะถูกเก็บบันทึกไว้ใน สมองส่วน “ฮิปโปแคมปัส” (hippocampus : มีขนาดเท่านิวมือ โค้งอยู่ใจกลางสมองทั้ง 2 ซีก) 

ความจําที่เกิดขึ้นในสมองมี 2 ระดับคือ ความจําระยะสั้นและความจําระยะยาว ความจําระยะสันจะเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อต้องใช้งานเท่านั้น แต่ไม่มีการสร้าง หน่วยความจําถาวรขึ้นในเซลล์สมอง จึงทําให้จําได้ชั่วคราวแล้วก็หายไป ส่วนความจํา ระยะยาวจะอยู่ได้นานหลายปีหรือตลอดชีวิต สมองจะสร้างหน่วยความจําถาวรอยู่ในสมองส่วนฮิปโปแคมปัส เมื่อต้องการใช้ หรือมีอะไรมากระตุ้น ความจํานั้นก็จะกระโดดออกมา ถ้าเราต้องการ พัฒนาความจําก็ต้องช่วยสมองสร้างหน่วยความจําถาวรให้ มาก ๆ 

วิธีที่ช่วยให้สมองสร้างหน่วยความจําถาวรก็คือ อย่าจําเพียงอย่างเดียว แต่ต้องพยายามเข้าใจ ในสิ่งที่ต้องการจะจําให้ลึกซึ้ง ในกรณี ของนักเรียน ไม่ควรเรียนเพียงแค่ ท่องจําเนื้อหาโดยปราศจากความ เข้าใจ เพราะสมองจะไม่สร้าง หน่วยความจําถาวร ดังนั้นต้อง ทําความเข้าใจเนื้อหาให้ละเอียด ลึกซึ้งจนเกิดเป็นภาพในสมอง แล้วสมองจะสร้างหน่วยความจํา พิเศษเอาไว้จนกลายเป็นความจําถาวร เฉพาะสิ่งที่เข้าใจเท่านั้น...

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS