ขับเคลื่อนโดย Blogger.
RSS

เทคนิควิธีอ่านหนังสือก่อนสอบ



เทคนิควิธีอ่านหนังสือก่อนสอบ



เทคนิคอ่านหนังสือก่อนสอบ ต้องอ่านทบทวนเนื้อหาวิชาต่างๆๆที่ครูสอนให้เข้าใจในเนื้อหานั้นๆให้ได้ เมื่อเข้าใจแล้วจด การจดเป้นวิธีที่ทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนเขียนเราอ่านและทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจึงจดโน้ตลงไปตามความเข้าใจ อย่าลอกลงไปทั้งดุ้น เพราะมันไม่มีประโยชน์ จะไม่ได้อะไรเข้าสู่สมองเลย

ควรสรุปสาระออกมาเป็นเนื้อความตามที่เข้าใจอย่างถูกต้อง โดยตรวจสอบด้วยการถาม-ตอบกับเพื่อน จดแล้วจำ เมื่อรู้เรื่องแล้วก็จะจำเนื้อหาได้ นอกจากนี้ในบางวิชาที่เป็นการท่องจำอย่าง สังคม, ชีวะฯ จะต้องอาศัยการท่องจำเป็นส่วนใหญ่ อาจต้องท่องจำเพิ่มมากขึ้น โดยการอ่านออกเสียงดังๆจะช่วยให้จำได้ดีขึ้น

ส่วนการจำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจเขียนใส่กระดาษแล้วไปแปะไว้ตามข้างฝาบ้านที่เห็นผ่านตาเป็นประจำ เช่น ฝาข้างที่นอน ประตูห้องสุขา หรือประตูของตู้เย็นก็ได้ ช่วงเวลาที่ดีและเหมาะสำหรับการอ่าน

ตอนเช้าเป็นช่วงที่ดีที่สุด เพราะร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ๆเข้าไป แต่สำหรับบางคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว จะอ่านเวลาดึกๆที่เงียบๆก็ได้ เพราะความเงียบทำให้สมองเราสามารถคิดสิ่งต่างๆได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน แถมบางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก

 เพราะฉะนั้นการอ่านหนังสือตอนกลางคืน ควรจะอ่านเท่าที่ร่างกายรับได้ พอเริ่มง่วงสัก 5 ทุ่มก็ควรเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 หรือตี 5 ขอแนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นสักครึ่งชั่วโมงนะจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งบิดขี้เกียจบนที่นอนก่อนสักพัก จากนั้นก็ลุกไปล้างหน้าล้างตามานั่งอ่านหนังสือ ที่สำคัญต้องทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่านนะ ไม่งั้นจะหลับคาหนังสือได้

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เคล็ดลับเรียนให้เก่ง



เคล็ดลับ การเรียนเก่ง



 1.คุมเวลาตื่นนอนให้ได้ทุกวันก่อนครับ. เช่น ตื่น 6 โมงเช้านอน 4 ทุ่ม ซัก 1 เดือนติดต่อกัน ให้ได้ก่อนค่อยมาว่าจะอ่านหนังสือครับ. เพราะจะเป็นการจัดระบบมันสมองใด้อย่างดีเยี่ยม และจะรู้สึกว่าสมองมีพลังในการรับรู้ครับ. ถ้าทำข้อนี้ไม่ได้ อย่าคิดว่าจะเรียนให้ดีได้ยากครับ.

 2. หลักการอ่านหนังสือใด ๆ ไม่จำเป็นต้องอ่านทีละนาน ๆ ครับ. เช่นตั้งไว้ว่า วันนึง เราจะ อ่านซัก 1 - 2 ชม.ก็เกินพอครับ. แต่ที่สำคัญอยู่ที่ความต่อเนื่องครับ. ถ้ายังบังคับตัวเองไม่อยู่ ข้อ 1. ก็เป็นการฝึกบังคับอย่างนึงแล้ว ต้องอ่านทุกวัน ไม่มีวันหยุดครับ.

 3. ที่ว่า 1 -2 ชม.นั้นต้องรู้ว่าตัวเองเราสามารถรับได้ครั้งละเท่าไรครับ. อย่างเช่นพี่จะ อ่านวันละ 2 ชม. แต่แบ่ง เป็น 4 ยกครับ. ครั้งละ 25 - 30 นาที และพัก 5- 10 นาที

 4. อ่านจบวันนึง ๆ ต้องมีสรุปแบบเล่มยาว ๆ เลยนะครับ. สรุปสั้น ๆ ว่าวันนี้ได้อะไรบ้าง สูตรอะไร ๆ หรือความเข้าใจอะไร

 5. ถึงตอนนอนให้นั่งสมาธิซัก 5 นาทีพอรู้สึกใจเริ่มนิ่ง ให้นึกที่เราสรุปไว้ เมื่อกี๊ครับ. ถ้านึกไม่ออกแสดงว่าสมาธิตอนอ่านหนังสือไม่ดี ให้เปิดไฟ ลุกออกไปดูที่สรุปใหม่ แล้วนึกใหม่ครับ.

 6. ต้องรู้วิธีเรียนในแต่ละวิชาครับ. เช่น คณิต + ฟิสิกส์ เน้นความเข้าใจเป็นอันดับ 1 เคมี เน้น เข้าใจ + ท่องจำบางอย่าง เช่น ตารางธาตุ ถ้าท่องยังไม่ได้แสดงว่าไม่เข้าใจว่ามันจำเป็นต้องจำ อังกฤษ เป็นเรื่องทักษะ ต้องใช้บ่อย ๆ ครับ. เวลาจะทำอะไรก็นึกเป็นภาษาอังกฤษบ้าง เช่นนึกจะทักเพื่อนว่าไปไหน ก็นึกว่า where do you go .? อะไรเป็นต้น แล้วก็ต้องเข้าใจ เป็นภาษาต่างด้าวยังมีคำหรือสำนวนที่เราไม่เข้าใจอีกเยอะ ดังนั้นเรื่องศัพท์ต้องรู้เยอะ ๆ เวลาจะไปดูหนัง Entertain กันทั้งที ก็เลือกดูเรื่องที่เขามีแต่ sub title เป็นภาษาอังกฤษ

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS

เทคนิคอ่านหนังสือให้จำแม่น


เทคนิคอ่านหนังสืออย่างไรให้จำแม่น



หัวใจสำคัญของการทำความเข้าใจและจดจำบทเรียน คือ การหมั่นฝึกฝนตามขั้นตอนให้เกิดความเคยชินจนติดกลายเป็นนิสัยการอ่านเพื่อทำความเข้าใจนี้จะแตกต่างจากการอ่านเพียงเพื่อท่องจำ

 1. เวลาอ่านบทเรียนหรือตำรา ให้อ่านอย่างตั้งใจ แต่ทว่าเราจะไม่อ่านไปเรื่อยๆ คือเราจะหยุดอ่านเมื่อจบย่อหน้าหรือหยุดเมื่ออ่านไปได้พอสมควรแล้ว

 2. จากนั้นให้ปิดหนังสือ แล้วลองอธิบายสิ่งที่ตนเองได้อ่านมาให้ตัวเองฟังคือ เราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังด้วยภาษาสำนวนของเราเอง ฟังแล้วเข้าใจหรือเปล่า หากเราสามารถอธิบายให้ตัวเองฟังรู้เรื่อง แสดงว่าเราเข้าใจแล้ว ให้อ่านต่อไปได้

 3. หากตอนใดเราอ่านแล้ว แต่ไม่สามารถอธิบายให้ตัวเองรู้เรื่อง แสดงว่ายังไม่เข้าใจ ให้กลับไปอ่านทบทวนใหม่อีกครั้ง

 4. หากเราพยายามอ่านหลายรอบแล้ว แต่ยังไม่เข้าใจจริงๆให้จดโน้ตไว้เพื่อนำไปถามอาจารย์ จากนั้นให้อ่านต่อไป

 5. ข้อมูลบางอย่างในตำราจำเป็นที่จะต้องท่องจำ เช่น ตัวเลข สถิติ ชื่อสถานที่ บุคคล หรือ สูตรต่างๆ ฯลฯ ก็ควรท่องจำไว้ด้วย เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจ ที่ชัดเจนยิ่งขึ้น

 6. การเรียนด้วยวิธีท่องจำ โดยปราศจากความเข้าใจ เรียนไปก็ลืมไป สูญเสียเวลาเปล่าประโยชน์ เสียเงินทอง

 7. การเรียนที่เน้นแต่ความเข้าใจ โดยไม่ยอมท่องจำ ก็จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆไม่ชัดเจน คลุมเครือ 

8. ดังนั้นควรมีเทคนิคง่ายๆ สั้นๆ ดังต่อไปนี้ ก.ให้อ่านหนังสือ สลับกับ การอธิบายให้ตัวเองฟัง ข.ให้ท่องจำเฉพาะข้อมูลที่จำเป็นต้องจำจริงๆ เช่น ตัวเลข ชื่อเฉพาะต่างๆ


มาจาก:http://blog.eduzones.com/diaw30/22324

  • Digg
  • Del.icio.us
  • StumbleUpon
  • Reddit
  • RSS